ค้นหาสินค้า
ชุดหลอดยูวี (UV Ultraviolet)
เครื่องกรองน้ำดื่ม ตู้กดน้ำ
เครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
- น้ำยาวัดค่าpHและคลอรีน
- เครื่องวัดค่า TDS บทความความรู้ทั่วไป
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2015-07-31
จำนวนสมาชิก : 1 คน ปรับปรุงเมื่อ : 2020-12-01 จำนวนครั้งที่ชม : 319,333 ครั้ง Online : 5 คน จำนวนสินค้า : 63 รายการ สินค้าและบริการ
|
ประโยชน์ของการปรุงแต่งคุณภาพของนำ้![]() ![]() ![]() ประโยชน์ของการปรุงแต่งคุณภาพของนำ้
ถ้าจะกล่าวว่านำ้เป็นตัวทำลายแบบครอบจักรวาลก็คงไม่ผิด เพราะเมื่อนำ้สัมผัสกับสารใดก็ตามจะก็เกิดขึ้นกับระบบต้องมีการละลายตัวของสารเกิดขึ้นมากบ้างน้อยบ้างเสมอ สารชนิดต่างๆมีความสามารถในการละลายนำ้ได้ไม่เท่ากันนอกจากนั้นความสามารถในการละลายนำ้ของสารต่างๆ ยังไม่คงที่และไม่แน่นอน เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น อุณหภูมิทำให้ความสามารถในการละลายนำ้ของหินปูนลดตำ่ลงจนเกืดการตกผลึกเป็นของแข็ง เป็นต้น ความสามารถในการละลายนำ้หรือตกผลึกเช่นนี้ ทำให้เกิดเป็นผลดีและผลเสียในลักษณะที่แตกต่างกันหลายประการในการนำนำ้มาใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ เมื่อใช้นำ้เป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อนจากระบบหม้อไอนำ้ และระบบนำ้หล่อเย็น ปัญหาที่ยากจะเลี่ยงได้ก็คือ ปัญหาเรื่องการกัดกร่อนโลหะซึ่งเนื่องมาจากมีการละลายตัวของสารที่สัมผัสกับนำ้และปัญหาเรื่องการเกิดตะกรันซึ่งเนื่องมาจากการตกผลึกของสารต่างๆที่เดิมละลายอยู่ในนำ้ ปัญหาทั้งสองก็เกิดขึ้นกับระบบนำ้ประปาด้วย เช่นกัน ท่อประปาอาจถูกกัดกร่อนจนชำรุดหรือมีตระกรันมากจนเกิดการอุดตันภายในท่อ อย่างไรก็ตาม การกัดกร่อนและตะกรันเกิดขึ้นเพราะมีอุณหภูมิสูงกว่าและมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่านั่นเอง การผุกร่อนหรืออุดตันของท่อนำ้ล้วนแต่สามารถแก้ไขได้ โดยการปรุงแต่งคุณภาพนำ้ให้เหมาะสม ผลเสียของการกัดกร่อนและการเกิดตะกรันมีทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ผลเสียโดยตรงคือ ทำให้อุปกรณ์เสียหายและต้องหยุดงานเพื่อแก้ไขและเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วน ผลเสียทางอ้อมอาจไม่ชัดเจนแต่ความรุนแรงของปัญหาดูเหมือนจะมากกว่า นั่นคือทำให้สูญเสียพลังงานและประสิทธิภาพในการทำงานของอุปกรณ์สำหรับในอุปกรณ์ที่มีการถ่ายเทความร้อน การกัดกร่อน(เป็นสนิม)และเกิดตะกรันทำให้ประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนจากของสิ่งหนึ่งไปยังสิ่งหนึ่งลดลงเป็นอย่างมาก การวัดระดับของผลกระทบของสนิมและตะกรันที่ขัดขวางการถ่ายเทความร้อนอาจกระทำได้ในเชิงปริมาณด้วยการใช้พารามิเตอร์ที่เรียกว่า Fou;ing Factor สารที่ไม่มีตะกรันหรือสนิม จะมี Fouling Factor เท่ากัยศูนย์ และ Fouling Factor จะมีค่าเพิ่มขึ้นตามระดับของตะกรันหรือสนิมที่เกิดขึ้น ![]() |